มาเที่ยวเมือตากกันไหม ฉันจะเป็นไกด์นำเที่ยว นำเที่ยวประเพณี
ประเพณีและวัฒนธรรมที่สำคัญในจังหวัดตาก
ประเพณีปีใหม่ม้ง
ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ 2 ค่ำและ 3 ค่ำของเดือนหนึ่ง จัดเป็นวันฉลองปีใหม่อย่างเป็นทางการ ซึ่งทุกคนจะหยุดหน้าที่การงานทุกอย่างในช่วงวันดังกล่าวนี้ และจะมีการจัดการละเล่นต่าง ๆ ในงานขึ้นปีใหม่ เช่น การละเล่นลูกช่วง การตีลูกข่าง การร้องเพลงม้ง |
ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง
จัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวจังหวัดตากที่สืบทอดกันมาช้านานมีรูปแบบเฉพาะของจังหวัดตาก แตกต่างจากการลอยกระทงทั่ว ๆ ไปตัวกระทงทำด้วยกะลามะพร้าวภายในจะบรรจุด้วยขี้ไต้ หรือเชื้อเพลิงที่เตรียมไว้ จุดไฟแล้วปล่อยลงในแม่น้ำปิงในระยะห่างเท่า ๆ กัน สม่ำเสมอไม่ขาดสายส่องแสงระยิบระยับเต็มท้องน้ำลอยไปตามสายน้ำของลำน้ำปิงซึ่งมีแห่งเดียวในเมืองไทย
ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า
เป็นงานบุญเพื่อเป็นการบูชาพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระพุทธเจ้า กำหนดจัดงานในวันขึ้น 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ ตรงกับเดือนเก้าของภาคเหนือ หรือตรงกับเดือนเจ็ดของภาคกลางช่วงประมาณเดือนมิถุนายนหรือปลายเดือนพฤษภาคมของทุกปี จัดที่วัดพระบรมธาตุอำเภอบ้านตาก
ประเพณีกินวอ
การเฉลิมฉลองปีใหม่ ในภาษาลาหู่(มูเซอ) เรียกว่า ประเพณี เขาะเจ๊าเว ซึ่งแปลว่า
"ปีใหม่การกินวอ"จะจัดระหว่างเทศกาลตรุษจีน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ จัดเป็นประเพณีงานขึ้นปีใหม่ของลีซอ จะมีการเซ่นไหว้ผีทั้งสอง คือ ผีหลวง เป็นผีประจำดอย และผีเมือง เป็นผีประจำหมู่บ้าน
แล้อุปั๊ดตะก่า
เป็นประเพณีแห่รับข้าวพระพุทธของคนเชื้อสายไทยใหญ่ในแม่สอด คำว่า “แล้อุปั๊ดตะก่า” เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึง คณะอุบาสกแห่รับข้าวพระพุทธจากผู้มีจิตศรัทธาถวายพระพุทธเจ้า ซึ่งจะจัดขึ้นในหนึ่งวันก่อนวันเข้าพรรษาของทุกปี
งานประเพณีสงกรานต์สองแผ่นดินและแข่งขันมวยคาดเชือก
จัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ตลาดริมเมย ในงานจะมีการละเล่นสงกรานต์แล้วยังมีการแข่งขันมวยคาดเชือกเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับเมียนมาร์จัดในวันที่ 13 เมษายนเป็นประจำทุกปี
ข้อดี:
1.เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่เราสามารถสื่อความเป็นกันเองระหว่าผู้เขียน
บล๊อกและผู้อ่านบล๊ฮก
2.สามารถที่จะเปิดโอกาศให้คนทั่วทุกมุมดลกที่ได้เขียนบล๊อกอย่างแพร่หลาย
3.การเขียนบล๊ฮกเป็นการแพร่บทความบันทึกข้อมูลความรู้เรื่องต่างๆ อาจจะเกี่ยวกับข้อมูล่วนตัวหรือไม่ก็เนื้อหาทางวิชาการ
ข้อเสีย:
1.ความน่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของบล็อกเกอร์มากกว่าตัวข้อมูลเอง
2.หากความผิดพลาดใดๆผู้ที่นำข้อมูลไปอ้างอิง อาจจะเปิดโอกาสให้กระจาย
ข่าวปั้นแต่ง ข่าวลือ ข่าวลวง
3.เนื้อหาที่อยู่ในบล็อกหากไม่ใช่ผลงานวิจัยที่ทำตามหลักวิชาการหรือตัวบทกฎหมายก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก
อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%87
https://www.takpao.go.th/th/travel/g/8/detail-news/N0002230.html
https://mgronline.com/travel/detail/9600000056247
https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2142&code_db=610004&code_type=TK007
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น